พระมหากษัตริย์
- พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นพระราชบิดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
- พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระราชโอรสในพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
- พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บิดาแห่งดาราศาสตร์สยาม
- พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มใช้รัตนโกสินทร์ศกเป็นพระองค์แรก
- พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก คือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
- มหาราชพระองค์แรกของไทย คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
- พระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลายาวนานที่สุด และที่สุดในโลก และยังทรงพระชนมชีพ คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
- พระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลาสั้นที่สุด คือ สมเด็จพระเจ้าทองลัน โดยทรงครองราชย์ได้เพียง 7 วันเท่านั้น
ราชธานี
- อาณาจักรไทยที่มีระยะเวลาในการเป็นราชธานีนานที่สุด คือ กรุงศรีอยุธยา ระยะเวลานานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ 33 พระองค์
- อาณาจักรไทยที่มีระยะเวลาสั้นที่สุดในการเป็นราชธานี คือ กรุงธนบุรี ระยะเวลาเพียง 15 ปีเท่านั้น
บุคคล
- กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- พระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร)
- หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)
- ผู้ที่ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารเป็นพระองค์แรกของ ประเทศไทย คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระราชโอรสองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ผู้ที่ได้รับนามสกุลพระราชทานคนแรก คือพระยายมราช (ปั้น สุขุม) รับพระราชทานเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2456
- จอมพลคนแรกของเมืองไทย คือ จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
- คนไทยคณะแรกที่เดินทางถึงทวีปยุโรป คือ คณะของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)
- ผู้ริเริ่มรถแท็กซี่ขึ้นในเมืองไทย คือ พลโท พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เมื่อปี พ.ศ. 2466
- ผู้ริเริ่มรถโดยสารประจำทางขึ้นในเมืองไทย คือ พระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร) เมื่อปี พ.ศ. 2428
- นักเขียนการ์ตูนคนแรกของไทย คือ ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต (เปล่ง ไตรปิ่น)
- รัฐบุรุษอาวุโสคนแรกของไทย คือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)
- ธศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อิน-จัน กับบุตรธิดาของทั้งสอง
- กันยา เทียนสว่าง นางสาวไทยคนแรกของไทย
- ธรรมนูญ เทียนเงิน เคยเป็นผู้อำนวยการลูกเสือชาวบ้านจังหวัดพระนครมาก่อน
- ผู้ดำรงตำแหน่ง “ธรรมศาสตราจารย์” คนแรก คือ ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์
- อธิบดีหญิงคนแรกของไทย คือ คุณหญิงอัมพร มีศุข อธิบดีกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
- ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง คือ นายธรรมนูญ เทียนเงิน
- ผู้ว่าราชการจังหวัดหญิงคนแรกของประเทศไทย คือ นางจรัสศรี ทีปิรัช ดำรงตำแหน่งที่จังหวัดนครนายก
- แฝดสยามคู่แรกของไทย คือ ฝาแฝด อิน-จัน เกิดเมื่อ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2434 ที่ จังหวัดสมุทรสงคราม
- นางสาวไทยคนแรก คือ นางสาวกันยา เทียนสว่าง
- นางงามจักรวาลคนแรกของไทย คือ นางสาวอาภัสรา หงสกุล (ในขณะนั้น)
- นักพากย์ภาพยนตร์คนแรกของไทย คือ นายสิน สีบุญเรือง (ทิดเขียว)
- มานะ สีดอกบวบ นักมวยไทยคนแรก ที่ได้ครองตำแหน่งแชมป์โลก
- พเยาว์ พูนธรัตน์ นักชกเหรียญทองแดงโอลิมปิกครั้งที่ 21 ที่แคนาดา (2519)
- สมรักษ์ คำสิงห์ นักกีฬาไทยคนแรก ที่รับเหรียญทองในโอลิมปิก
- มนัส บุญจำนงค์ ได้เหรียญทอง ในโอลิมปิกครั้งที่ 28 (กรีซ 2547) และเหรียญเงินในครั้งที่ 29 (จีน 2551)
- นักมวยไทยคนแรกที่ได้ครองตำแหน่งแชมป์โลก คือ โผน กิ่งเพชร (มานะ สีดอกบวบ)
- นักมวยหญิงไทยคนแรกที่ได้ครองแชมป์โลก คือ แซมซั่น ส.ศิริพร
- นักกีฬาไทยคนแรกที่ได้เหรียญรางวัลโอลิมปิก คือ ร้อยตำรวจเอกพเยาว์ พูนธรัตน์
- นักกีฬาไทยคนแรกที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก คือ เรือเอกสมรักษ์ คำสิงห์
- นักกีฬาหญิงไทยคนแรกที่ได้เหรียญรางวัลโอลิมปิก คือ นางสาวเกษราภรณ์ สุตา
- นักกีฬาหญิงไทยคนแรกที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก คือ นางสาวอุดมพร พลศักดิ์
- นักมวยไทยที่ป้องกันตำแหน่งแชมป์ไว้ได้สูงสุด คือ เขาทราย แกแล็คซี่ (เป็นสถิติอันดับหนึ่งของเอเชียด้วย)
- นักกีฬาไทย และนักมวยชาวเอเชียคนแรก ที่ได้รับเหรียญรางวัลโอลิมปิกสองครั้งติดต่อกัน คือ มนัส บุญจำนงค์
การเมือง
- เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของไทย และผู้ประพันธ์เพลงกราวกีฬา
- จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นทั้งนายกฯ ที่ดำรงตำแหน่งถึงเกือบ 15 ปี และนายกฯ คนแรกที่รัฐประหารตนเอง
- ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นทั้งนายกรัฐมนตรี อายุน้อยที่สุด และเป็นผู้นำคณะรัฐมนตรี ด้วยเวลาเพียง 11 วัน
- พรรคประชาธิปัตย์ มีอายุยาวนานถึง 62 ปี
กิจกรรม
- การเลือกตั้งครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476
- จังหวัดที่มีจำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มากที่สุด (ไม่นับกรุงเทพมหานคร) คือ จังหวัดนครราชสีมา มีได้ 16 คน (ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550)
- การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2543
- การเลือกตั้งครั้งแรกที่ศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้เป็นโมฆะ คือ การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 เนื่องจากผู้พิพากษาเห็นว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- การลงประชามติครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เป็นการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
- การแถลงนโยบายรัฐบาล นอกอาคารรัฐสภาครั้งแรก และที่ใช้เวลาสั้นที่สุดในประวัติศาสตร์ คือ การแถลงนโยบายรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่อสมาชิกรัฐสภา เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างเวลา 11.20-13.15 น. รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 1 ชั่วโมง 50 นาที
- การชุมนุมทางการเมืองของประชาชนครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2500 เพื่อประท้วงผลการเลือกตั้ง ซึ่งพรรคเสรีมนังคศิลา ของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ชนะการเลือกตั้งโดยทุจริต
- รัฐประหารครั้งแรก เกิดขึ้นในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2476 โดย พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา
- รัฐประหารตนเอง เกิดขึ้นครั้งแรก ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 โดย จอมพลแปลก พิบูลสงคราม และครั้งที่สอง ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 โดย จอมพลถนอม กิตติขจร
- กบฏครั้งแรก คือ กบฏ ร.ศ. 130 เมื่อปี พ.ศ. 2455 นำโดย ร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์) พร้อมผู้ริเริ่มก่อการอีก 6 คน แต่ภายหลัง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานอภัยโทษ
บุคคล
- พรรคการเมืองที่มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่รัฐสภามากที่สุด คือ พรรคไทยรักไทย ได้ทั้งหมด 377 คน จากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
- พรรคการเมืองที่มีอายุยาวนานที่สุดที่ยังดำเนินการอยู่ คือ พรรคประชาธิปัตย์ (ก่อตั้ง: 5 เมษายน พ.ศ. 2489)
- ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของไทย คือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เมื่อปี พ.ศ. 2475
- ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรก คือ นายชำนาญ ยุวบูรณ์
- ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง คือ นายธรรมนูญ เทียนเงิน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลที่ได้รับเลือกตั้ง ขณะที่มีอายุสูงที่สุด คือ พันเอกสมคิด ศรีสังคม ส.ว.จังหวัดอุดรธานี จากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2543 ขณะมีอายุ 82 ปี 2 เดือน 4 วัน
- บุคคลที่ได้รับคะแนนจากการเลือกตั้งสูงสุดของประเทศไทย (นับรวมการเลือกตั้งทุกรูปแบบ) คือ นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จากการเลือกตั้งในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 โดยได้รับคะแนนเสียง 1,016,096 คะแนน
- บุคคลที่ได้รับเลือกตั้ง ขณะที่มีอายุน้อยที่สุด คือ นางประไพพรรณ เส็งประเสริฐ จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ จากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 ขณะมีอายุ 25 ปี 9 วัน
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสุภาพสตรีคนแรกของประเทศไทย คือ นางอรพิน ไชยกาล ส.ส.จังหวัดอุบลราชธานี จากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2492
รัฐบาล
- พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จากการเลือกตั้งคนแรก ที่ดำรงตำแหน่งครบวาระ 4 ปี
- ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีสุภาพสตรีคนแรกของประเทศไทย
- นายสมัคร สุนทรเวช เป็นทั้งนายกฯ ที่ดำรงตำแหน่งเมื่ออายุ 72 ปี และผู้ว่าฯ กทม.ที่ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเกิน 1 ล้านเสียง
- พรรคไทยรักไทย มี ส.ส.ถึง 377 คน จากการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548
- นายกรัฐมนตรีคนแรก คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)
- นายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด คือ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) รวมเวลา 14 ปี 11 เดือน 18 วัน
- นายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งสั้นที่สุด คือ นายทวี บุณยเกตุ รวมเวลา 18 วัน
- บุคคลที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ขณะที่มีอายุน้อยที่สุด คือ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ขณะที่มีอายุได้ 40 ปี 4 เดือน 17 วัน รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2488
- บุคคลที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ขณะที่มีอายุมากที่สุด คือ นายสมัคร สุนทรเวช ขณะที่มีอายุได้ 72 ปี 7 เดือน 16 วัน รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551
- นายกรัฐมนตรีสุภาพสตรีคนแรก คือ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554
- คณะรัฐมนตรีชุดแรก มีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นประธานกรรมการราษฎร (ตำแหน่งเทียบเท่านายกรัฐมนตรี) และมีคณะกรรมการราษฎร (ตำแหน่งเทียบเท่าคณะรัฐมนตรี) ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 และสิ้นสุดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2475
- คณะรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งครบวาระ 4 ปี มีทั้งสิ้น 4 คณะ คือ
- คณะที่ 25 ที่มี จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี (24 มีนาคม พ.ศ. 2495-26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500)
- คณะที่ 29 ที่มี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502-8 ธันวาคม พ.ศ. 2506)
- คณะที่ 30 ที่มี จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี (9 ธันวาคม พ.ศ. 2506-7 มีนาคม พ.ศ. 2512)
- คณะที่ 54 ที่มี พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี (17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544-11 มีนาคม พ.ศ. 2548) (เป็นคณะรัฐมนตรีพลเรือนซึ่งจัดตั้งขึ้นจากเสียงส่วนมากของสภาผู้แทนราษฎรชุดแรกที่ดำรงตำแหน่งครบวาระ)
- คณะรัฐมนตรีชุดที่มีอายุสั้นที่สุด คือ คณะที่ 38 ที่มี หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี รวมเวลา 11 วัน ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2519 และสิ้นสุดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ปีเดียวกัน เนื่องจากเกิดรัฐประหาร โดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่
การปกครอง
- กรุงเทพมหานคร มีชื่อเต็มยาวที่สุดในโลก
- บึงกาฬ จังหวัดใหม่ล่าสุดของไทย
- นครราชสีมา เป็นจังหวัดพื้นที่มากที่สุด มีอำเภอและตำบลมากที่สุดของไทย
- สมุทรสงคราม เป็นจังหวัดพื้นที่น้อยที่สุดของไทย
จังหวัด
- จังหวัดในประวัติศาสตร์ไทยซึ่งมีชื่อเต็มยาวที่สุด และเป็นชื่อเมืองซึ่งยาวที่สุดในโลก คือ กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ ภายหลังจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
- จังหวัดที่มีชื่อราชการยาวที่สุดในประเทศไทย คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- จังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุด คือ จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ 20,494.0 ตร.กม.
- จังหวัดที่มีพื้นที่น้อยที่สุด คือ จังหวัดสมุทรสงคราม มีพื้นที่ 416.707 ตร.กม.
- จังหวัดที่มีระยะทางจากทิศเหนือถึงทิศใต้ยาวที่สุด คือ จังหวัดเชียงใหม่ จากอำเภอแม่อาย (ทิศเหนือ) ถึงอำเภออมก๋อย (ทิศใต้) มีระยะทางรวม 320 กิโลเมตร
- จังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่นมากที่สุด คือ จังหวัดตาก และ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 9 จังหวัด
- จังหวัดที่มีอำเภอมากที่สุด คือ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 32 อำเภอ
- จังหวัดที่มีตำบลมากที่สุด คือ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 287 ตำบล
- จังหวัดที่มีเทศบาลมากที่สุด คือ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 97 เทศบาล
- จังหวัดที่มีอำเภอน้อยที่สุด คือ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดภูเก็ต จำนวน 3 อำเภอ
- จังหวัดที่มีอำเภอที่มีเขตติดต่อชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านทุกอำเภอ คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- จังหวัดที่มีอำเภอที่มีเขตติดต่อกับทะเลด้านอ่าวไทยทุกอำเภอ คือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- จังหวัดที่มีประชากรน้อยที่สุด คือ จังหวัดระนอง
- จังหวัดที่จัดตั้งขึ้นล่าสุด คือ จังหวัดบึงกาฬ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554
อำเภอ
- อำเภอที่ตั้งอยู่ทางเหนือสุด คือ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
- อำเภอที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกสุด คือ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- อำเภอที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุด คือ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
- อำเภอที่ตั้งอยู่ทางใต้สุด คือ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส[ต้องการอ้างอิง]
- อำเภอที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก มีพื้นที่ 4,325 ตารางกิโลเมตร
- อำเภอที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี มีพื้นที่ 17 ตารางกิโลเมตร
- อำเภอที่มีตำบลมากที่สุด คือ อำเภอเมืองนครราชสีมา และ อำเภอเมืองนครปฐม มี 25 ตำบล
- อำเภอที่ตั้งขึ้นใหม่ที่สุด คือ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ แยกออกมาจากอำเภอแม่แจ่ม
- อำเภอที่มีการค้าชายแดนมากที่สุด คือ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
- เขตในกรุงเทพมหานครที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ เขตสัมพันธวงศ์ มีพื้นที่ 1.42 ตารางกิโลเมตร
- เขตในกรุงเทพมหานครที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ เขตหนองจอก มีพื้นที่ 236.26 ตารางกิโลเมตร
ประชากร
- จังหวัดที่มีประชากรเบาบางที่สุด คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีความหนาแน่น 19.93 คน ต่อตารางกิโลเมตร (ข้อมูล: พ.ศ. 2551)
- อำเภอที่มีประชากรมากที่สุด คือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จำนวน 495,922 คน (ข้อมูล: พ.ศ. 2552)
- อำเภอที่มีประชากรน้อยที่สุด คือ อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด และ อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี จำนวน 2,167 คน (ข้อมูล: พ.ศ. 2551)
เศรษฐกิจ
- ต้นโพธิ์ หน้าธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย
- แผนกซูเปอร์มาร์เก็ต ห้างเซ็นทรัล เปิดที่สาขาสีลมเป็นแห่งแรก
- ห้างไนติงเกล ย่านถนนพาหุรัด เปิดดำเนินกิจการมาแล้วถึง 80 ปี
- ตลาดนัดจตุจักร มีหอนาฬิกาเป็นสัญลักษณ์
- ธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรก คือ บริษัท แบงก์สยามกัมมาจลทุน จำกัด ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2449 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารไทยพาณิชย์
- ธนาคารของรัฐบาลไทยแห่งแรก คือ ธนาคารออมสิน ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2456 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ธนาคารที่มีจำนวนสาขามากที่สุด คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ มีจำนวน 1,000 สาขา (พ.ศ. 2553)
- ธนาคารที่นำระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์มาใช้เป็นแห่งแรก คือ ธนาคารกรุงเทพ
- ธนาคารที่ใช้เทคโนโลยีบัตรเอทีเอ็มเป็นแห่งแรก คือ ธนาคารกรุงเทพ
- ธนาคารที่มีจำนวนตู้เอทีเอ็มมากที่สุด คือ ธนาคารไทยพาณิชย์
- ธนาคารแห่งแรกที่นำเครื่องอีมันนีเอทีเอ็มมาใช้งาน คือ ธนาคารทิสโก้
- ธนาคารแห่งแรกที่เปิดสาขาในต่างประเทศ คือ ธนาคารกรุงเทพ สาขาฮ่องกง
- ธนาคารพาณิชย์แห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขานครราชสีมา
- บุคคลที่มีทรัพย์สินมากที่สุด คือ นายธนินท์ เจียรวนนนท์ เจ้าของธุรกิจซีพี (พ.ศ. 2554)
- ห้างสรรพสินค้าที่มีอายุยาวนานที่สุด ที่ยังเปิดดำเนินกิจการอยู่ คือ บริษัท ไนติงเกล-โอลิมปิค จำกัด ภายใต้ชื่อการค้า ห้างไนติงเกล เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2473
- ห้างสรรพสินค้าที่มีศูนย์จำหน่ายอาหารโดยการใช้ระบบบัตรคูปองเป็นแห่งแรก คือ มาบุญครองเซ็นเตอร์ (ปัจจุบันคือ เอ็มบีเคเซ็นเตอร์)
- ซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งแรก เปิดทำการเป็นส่วนหนึ่งของห้างเซ็นทรัล สาขาสีลม เมื่อปี พ.ศ. 2511
- ตลาดที่มีพื้นที่จำหน่ายสินค้ากว้างขวางที่สุดในประเทศไทยและที่สุดในโลก คือ ตลาดนัดจตุจักร
- ตลาดจำหน่ายกล้วยไม้แห่งใหญ่ที่สุด คือ ตลาดธนบุรี (สนามหลวง 2)
ภูมิศาสตร์
- อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จุดสูงสุดของประเทศไทย
- พื้นที่ทั้งเกาะภูเก็ต คือจังหวัดภูเก็ตนั่นเอง
- ทะเลสาบสงขลา
- เรือด่วนที่ให้บริการในคลองแสนแสบ
- บริเวณตะวันออกสุด คือ บ้านศรีเมืองใหม่ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ละติจูด 15 องศา 38 ลิปดาเหนือ และลองจิจูดที่ 105 องศา 37 ลิปดาตะวันออก
- บริเวณตะวันตกสุด คือ ริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน บ้านดอยผาตั้ง ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ละติจูด 18 องศา 34 ลิปดาเหนือและลองจิจูดที่ 97 องศา 21 ลิปดาตะวันออก
- บริเวณเหนือสุด คือ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ละติจูด 99 องศา 58 ลิปดาตะวันออก
- บริเวณใต้สุด คือ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ละติจูดที่ 5 องศา 37 ลิปดาเหนือ และลองจิจูด 101 องศา 08 ลิปดาตะวันออก
- ยอดเขาที่สูงที่สุด คือ ยอดดอยอินทนนท์ ใน อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 2,576 เมตร หรือ 8,450 ฟุต
- เกาะขนาดใหญ่ที่สุด คือ เกาะภูเก็ต มีขนาด 543 ตารางกิโลเมตร
- บริเวณที่มีแผ่นดินแคบที่สุด คือบริเวณ ตำบลห้วยทราย อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ มีช่วงแผ่นดินเพียง 10.96 กิโลเมตร
- แหลมทะเลที่มีความยาวมากที่สุด คือ แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ทะเลสาบขนาดใหญ่ที่สุด คือ ทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ประมาณ 1,040 ตารางกิโลเมตร
- ทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุด คือ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ มีเนื้อที่ 132,737 ไร่
- แม่น้ำที่ยาวที่สุด คือ แม่น้ำชี มีต้นธารจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ ไหลผ่านจังหวัดชัยภูมิ จังหวัดมหาสารคาม จนไปบรรจบกับแม่น้ำมูล ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี รวมความยาวทั้งสิ้น 765 กิโลเมตร
- คลองที่ยาวที่สุด คือ คลองแสนแสบ มีความยาวทั้งสิ้น 65 กิโลเมตร
- น้ำตกที่สูงที่สุด คือน้ำตกทีลอซู จังหวัดตาก
- อุทยานแห่งชาติแห่งแรก และพื้นที่ป่าไม้ขนาดใหญ่ที่สุด คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครนายก และ จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งรัฐบาลประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2505
- อุทยานแห่งชาติขนาดใหญ่ที่สุด คือ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- อุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรก คือ อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งรัฐบาลประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2509
สิ่งก่อสร้าง
- พระที่นั่งวิมานเมฆ สิ่งก่อสร้างด้วยไม้สักทองหลังใหญ่ที่สุด
- ราชมังคลากีฬาสถาน มีเก้าอี้อัฒจันทร์ทั้งหมด 49,749 ที่นั่ง
- เขื่อนภูมิพล เป็นทั้งเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรก และเขื่อนที่เก็บกักน้ำได้มากที่สุด
- ภาพเขื่อนสิริกิติ์ จากมุมมองบนสันเขื่อน
- ปราสาทขอมโบราณซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปราสาทหินพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
- ปราสาทขอมโบราณซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกที่สุด คือ ปราสาทเมืองสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
- ปราสาทขอมโบราณซึ่งมีความเก่าแก่ที่สุด คือ ปราสาทภูมิโปน อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 1
- ดาบเหล็กน้ำพี้ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
- ฝายหลวงแห่งแรก คือ ฝายซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
- สนามกีฬาขนาดใหญ่ที่สุด คือ ราชมังคลากีฬาสถาน ภายในสนามกีฬาหัวหมาก กรุงเทพมหานคร มีความจุผู้ชม 80,000 คน
- ตู้ไปรษณีย์ขนาดใหญ่ที่สุด (อดีตเคยเป็นที่สุดในโลก) คือ ตู้ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา มีความสูง 3.20 เมตร เส้นรอบวงที่ฐาน 2.65 เมตร เส้นรอบวงตู้ 2.40 เมตร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2467
- เสาธงซึ่งมีความสูงมากที่สุด คือ เสาซึ่งตั้งอยู่ที่กองบังคับการกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 445 จังหวัดยะลา มีความสูง 65 เมตร
[แก้]คมนาคม
- สะพานรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรก คือ สะพานพระราม 6 สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2465 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งแรก คือ สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 1 ช่วงระหว่างจังหวัดหนองคาย กับนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย ฯพณฯ หนูฮัก พูมสะหวัน ประธานประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2537
- สะพานข้ามแม่น้ำเมยแห่งแรก คือ สะพานมิตรภาพ ไทย-พม่า ช่วงระหว่างจังหวัดตาก กับจังหวัดเมียวดี ของสหภาพเมียนมาร์
- สะพานแขวนคนเดินที่ยาวที่สุด คือ สะพานข้ามแม่น้ำมูล ภายในอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ โครงสร้างเป็นเหล็ก ยึดโยงด้วยลวดสลิงขนาดใหญ่ พื้นปูด้วยไม้กระดาน มีความกว้าง 2 เมตร ยาว 295 เมตร
- อุโมงค์ที่ยาวที่สุด คือ อุโมงค์ขุนตาน ใช้เป็นทางลอดผ่านของรถไฟสายเหนือ ตั้งอยู่บริเวณเขตติดต่ออำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง และอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน มีความยาวทั้งสิ้น 1,352 เมตร เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2450 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2461
- อุโมงค์รถยนต์ลอดภูเขาเพียงแห่งเดียว ตั้งอยู่ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
- หอบังคับการบินซึ่งมีความสูงมากที่สุด และที่สุดในโลก อยู่ภายในท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ มีความสูง 132.2 เมตร
- ทางพิเศษซึ่งมีความยาวมากที่สุด คือ ทางพิเศษบูรพาวิถี (บางนา-ชลบุรี)
- ทางหลวงพิเศษซึ่งมีความยาวมากที่สุด คือ ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 หรือถนนกาญจนาภิเษก หรือถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร
- โครงการเซ็นทรัลเวิลด์ ประกอบด้วยศูนย์การค้า โรงแรม และอาคารสำนักงาน
- อาคารใบหยก 2 มีจำนวนชั้นทั้งสิ้น 88 ชั้น
- หน้าอุโมงค์ขุนตาน มีทางรถไฟเดินเข้าไปภายใน
- สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 ที่สร้างข้ามแม่น้ำโขงเป็นแห่งแรก
อาคาร
- พระที่นั่งซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด คือ พระที่นั่งวิมานเมฆ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นพระที่นั่งถาวรองค์แรก ในพระราชวังดุสิต สร้างขึ้นด้วยไม้สักทองทั้งหลัง เมื่อปี พ.ศ. 2444 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- อาคารเรียนซึ่งมีความยาวที่สุด คือ อาคารสวนกุหลาบ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีความยาวทั้งสิ้น 198.35 เมตร
- ตึกระฟ้าซึ่งมีความสูงมากที่สุด คือ ตึกโอเชี่ยนวันทาวเวอร์ พัทยา ชลบุรี มีความสูงทั้งสิ้น 367 เมตร หรือ 1,205 ฟุต (เป็นอันดับที่ 16 ของโลก สถิติเมื่อ พ.ศ. 2553)
- โรงแรมซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด คือ แอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน เมืองพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีจำนวนห้องพักทั้งสิ้น 5,100 ห้อง
- ศูนย์การค้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ เซ็นทรัลเวิลด์ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ใช้สอยทั้งสิ้น 550,000 ตารางเมตร
เขื่อน
- เขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรก, เขื่อนคอนกรีตรูปโค้งแห่งเดียว และเขื่อนที่สามารถเก็บกักน้ำได้มากที่สุด และที่สุดในอาเซียน คือ เขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
- เขื่อนดินขนาดใหญ่ที่สุด คือ เขื่อนสิริกิติ์ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
- เขื่อนดินที่ยาวที่สุด คือ เขื่อนลำปาว อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีความยาว 7,800 เมตร
- เขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ที่สุด คือ เขื่อนเจ้าพระยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท
- เขื่อนคอนกรีตบดอัดที่มีความยาวที่สุด และที่สุดในโลก คือ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เขื่อนขุนด่านปราการชล อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก มีความยาวทั้งสิ้น 2,720 เมตร
การคมนาคมและขนส่ง
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 เริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่จังหวัดสงขลา
- ป้ายบอกทางบนถนนเพชรเกษม ช่วงจังหวัดราชบุรี
- ถนนอุทยาน ที่ได้ชื่อว่าสวยงามที่สุดในประเทศไทย
- ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ มีพื้นที่ถึง 20,000 ไร่
- ป้ายบอกระยะทางเดินรถไกลที่สุด และที่สุดในโลก คือ ป้ายที่บริเวณสี่แยกอินโดจีน อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- ถนนที่มีความยาวที่สุด คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 หรือถนนเพชรเกษม มีระยะทางทั้งสิ้น 1,274 กิโลเมตร
- ทางหลวงสายแรกที่มีผิวจราจรลาดยางมะตอยแบบแอสฟัลติกคอนกรีต และก่อสร้างถูกต้องตามมาตรฐานทางหลวงในทุกขั้นตอน คือ ถนนมิตรภาพ ช่วงสระบุรี-นครราชสีมา โดยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2493
- รถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีเส้นทางเดินรถเป็นระยะยาวที่สุด คือ สาย 177 วงกลมบางบัวทอง-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (นับทั้งรอบ)
- รถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีเส้นทางเดินรถเป็นระยะสั้นที่สุด คือ สาย 111 วงกลมเจริญนคร-ตลาดพลู
- สายทางรถไฟซึ่งมีระยะทางยาวที่สุด คือ ทางรถไฟสายใต้ เริ่มจากสถานีรถไฟกรุงเทพ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ผ่าน[[จังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมทางหาดใหญ่(สงขลา)ปัตตานี ยะลา จนถึงสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส รวมระยะทางทั้งสิ้น 1,160 กิโลเมตร
- ท่าอากาศยานซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ
- เรือดำน้ำชุดแรกของราชนาวีไทย คือ เรือหลวงมัจฉานุ เรือหลวงวรุณ เรือหลวงสินสมุทร และ เรือหลวงพลายชุมพล ซึ่งเป็นเรือดำน้ำขนาดเล็ก ผลิตในประเทศญี่ปุ่น เข้าประจำการเมื่อ พ.ศ. 2478 ตามพระดำริของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ โดยใช้งานได้ราว 13 ปี ก็ปลดระวาง แต่มีเพียงเรือหลวงมัจฉานุเพียงลำเดียว ที่ปัจจุบันจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ทหารเรือ
การศึกษา
- จุฬาฯ มหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย
- สวนกุหลาบ มีอายุถึง 128 ปี
- กรุงเทพคริสเตียน มีอายุถึง 156 ปี
- 45 ปี จากโรงเรียนไทยเทคนิค สู่ ม.กรุงเทพ
- โรงเรียนรัฐบาลอายุยาวนานที่สุด ที่ยังเปิดดำเนินการอยู่ คือ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2425 (อายุ 129 ปี)
- โรงเรียนเอกชนอายุยาวนานที่สุด ที่ยังเปิดดำเนินการอยู่ คือ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2395 (อายุ 159 ปี)
- สถานศึกษาทางแพทยศาสตร์ที่มีอายุยาวนานที่สุด คือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยสืบทอดจากโรงเรียนแพทยากร ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2432 (อายุ 122 ปี)
- สถานศึกษาทางนิติศาสตร์ที่มีอายุยาวนานที่สุด คือ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสืบทอดจากโรงเรียนกฎหมาย ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2440 (อายุ 114 ปี)
อุดมศึกษา
- ม.เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคแห่งแรก
- ม.พายัพ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งแรก
- ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีวิทยาเขตมากที่สุด
- ม.รามคำแหง มีนักศึกษามากที่สุด
- มหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรก คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2459 (อายุ 95 ปี) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย
- มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรก คือ มหาวิทยาลัยพายัพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2517 (อายุ 36 ปี)
- มหาวิทยาลัยของรัฐในปัจจุบันที่เริ่มก่อตั้งมายาวนานที่สุด คือ มหาวิทยาลัยมหิดล เขตบางกอกน้อย เขตพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การเป็นโรงเรียนแพทยากร เมื่อ พ.ศ. 2432 ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2486 และเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อ พ.ศ. 2512
- มหาวิทยาลัยเอกชนในปัจจุบันที่เริ่มก่อตั้งมายาวนานที่สุด คือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ก่อตั้งเป็นโรงเรียนไทยเทคนิคเมื่อ พ.ศ. 2505 (อายุ 48 ปี) ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2527
- มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาลแห่งแรก คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2533 (อายุ 21 ปี)
- มหาวิทยาลัยที่มีจำนวนนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษามากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
- มหาวิทยาลัยที่มีวิทยาเขตมากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ) มีวิทยาเขต 10 แห่ง 1.วิทยาเขตหนองคายจังหวัดหนองคาย 2.วิทยาเขตนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 3.วิทยาเขตเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 4.วิทยาเขตขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 5.วิทยาเขตนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 6.วิทยาเขตอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 7.วิทยาเขตแพร่ จังหวัดแพร่ 8.วิทยาเขตสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 9.วิทยาเขตพะเยาจังหวัดพะเยา 10.วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส จังหวัดนครปฐม
- สถาบันอุดมศึกษาที่มีวิทยาเขตมากที่สุด คือ สถาบันการพลศึกษา มีจำนวน 16 วิทยาเขต
- สถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคแห่งแรกของประเทศไทย คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (อายุ 46 ปี)
- มหาวิทยาลัยที่มีบริเวณกว้างใหญ่ที่สุด คือ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช รวมพื้นที่มากกว่า 10,000 ไร่
- มหาวิทยาลัยแห่งแรกที่มีวิทยาเขตอยู่นอกกรุงเทพมหานคร คือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน หรือ วิทยาลัยการศึกษาบางแสน (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยบูรพา)
- มหาวิทยาลัยที่อยู่ใกล้ทะเลมากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง (หาดราชมงคล)
- มหาวิทยาลัยที่มีต้นไม้ภายในบริเวณสถาบันมากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
สื่อสารมวลชน สิ่งพิมพ์ ศิลปวัฒนธรรม
- หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ จำหน่ายมากที่สุดของประเทศ
- ช่อง 4 บางขุนพรหมออกโทรภาพครั้งแรกเมื่อ 57 ปีที่แล้ว
- ชิงร้อยชิงล้าน รายการเกมโชว์ที่ออกอากาศยาวนานถึง 19 ปี
- สถิติโลก บ้านผีปอบ 12 ภาค ใน 5 ปี
- เว็บไซต์ที่มีจำนวนยอดผู้เข้าชมสูงสุด คือ สนุกดอตคอม
- เว็บไซต์ข่าวที่มีจำนวนยอดผู้เข้าชมสูงสุด คือ ผู้จัดการออนไลน์
- วงดนตรีเฮฟวี เมทัลวงแรก คือ คาไลโดสโคป
- นักร้องชายที่มียอดจำหน่ายงานเพลงรวมสูงสุดกว่า 20 ล้านชุด มีผลงานเพลงยอดนิยมมากที่สุด และเปิดแสดงคอนเสิร์ตมากครั้งหลายรอบมากที่สุด คือ ธงไชย แมคอินไตย์[ต้องการอ้างอิง]
- นักร้องชายที่บันทึกเสียงมากที่สุดในประเทศไทย มีผลงานกว่า 500 ชุด งานเพลงที่ บันทึก 4000 กว่าเพลง คือ ยอดรัก สลักใจ
- นักร้องหญิงที่มียอดจำหน่ายงานเพลงในสามอัลบั้มเป็นจำนวน 1 ล้านชุด คือ คริสติน่า อากีล่าร์[ต้องการอ้างอิง]
- นักร้องหญิงที่มียอดจำหน่ายงานเพลงสูงสุดและมีผลงานเพลงยอดนิยมมากที่สุด คือ ใหม่ เจริญปุระ[ต้องการอ้างอิง]
- นักร้องหญิง อมิตา ทาทา ยัง เป็นนักร้องหญิงที่ทำรายได้เข้าสู่ประเทศไทยกว่า 800 ล้านบาท และมียอดจำหน่ายอัลบั้มแล้วกว่า 14 ล้านชุด และผลงานอัลบั้มอัลบั้มแรกคือ อมิตาทาทายัง สามารถสร้างยอดขายได้ถึง 1 ล้านชุด ภายในเวลา 5 เดือน
หนังสือพิมพ์
- หนังสือพิมพ์ฉบับแรก คือ สยามจดหมายเหตุ (บางกอกรีคอเดอ) ก่อตั้งโดย นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ มิชชันนารีชาวอเมริกัน
- หนังสือพิมพ์ไทยฉบับแรก คือ ราชกิจจานุเบกษา ก่อตั้งโดย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- หนังสือพิมพ์รายวันฉบับแรก คือ ข่าวราชการ (ค็อต - COURT) ก่อตั้งโดย สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
- หนังสือพิมพ์ที่มียอดจำหน่ายสูงสุดในปัจจุบัน คือ ไทยรัฐ ก่อตั้งโดย กำพล วัชรพล เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2505
- หนังสือพิมพ์ที่มีอายุต่อเนื่องยาวนานที่สุด และยังวางจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน คือ สยามรัฐ ก่อตั้งโดย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช และ สละ ลิขิตกุล เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2493
- หนังสือพิมพ์ธุรกิจฉบับแรก คือ ประชาชาติธุรกิจ รายสามวัน ก่อตั้งโดย ขรรค์ชัย บุนปาน และ พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2520
- หนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันฉบับแรก คือ กรุงเทพธุรกิจ ก่อตั้งโดย สุทธิชัย หยุ่น และ ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2530
- หนังสือพิมพ์ธุรกิจที่มียอดจำหน่ายสูงสุด คือ ฐานเศรษฐกิจ ก่อตั้งโดย สมศักดิ์ ศรีวุฒิชาญ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524
- หนังสือพิมพ์กีฬาฉบับแรก คือ สยามกีฬารายวัน ก่อตั้งโดย ระวิ โหลทอง เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2528
- หนังสือพิมพ์ฟุตบอลฉบับแรก คือ สตาร์ซอคเก้อร์รายวัน ก่อตั้งโดย ระวิ โหลทอง เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535
- หนังสือพิมพ์บันเทิงฉบับแรก คือ สยามบันเทิง ก่อตั้งโดย ระวิ โหลทอง และ วิลักษณ์ โหลทอง
- หนังสือพิมพ์บันเทิงรายวันฉบับแรก คือ สยามดารา ก่อตั้งโดย วิลักษณ์ โหลทอง เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2548
- หนังสือพิมพ์ข่าวแท็บลอยด์ฉบับแรก คือ บางกอกทูเดย์ ก่อตั้งโดย เผด็จ ภูรีปติภาน และ สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2545
- หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษฉบับแรก คือ บางกอกโพสต์ ก่อตั้งโดย นาวาตรี อเล็กซานเดอร์ วิลเลี่ยม แมคโดนัลด์ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2489
- หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษซึ่งมีชาวไทยเป็นเจ้าของฉบับแรก คือ เดอะเนชั่น ก่อตั้งโดย หม่อมราชวงศ์หญิงสุนิดา กิติยากร, ธรรมนูญ มหาเปารยะ และ สุทธิชัย หยุ่น เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2514
นิตยสาร
- นิตยสารสตรีฉบับแรก คือ นารีรมย์
- นิตยสารเนื้อหาเกี่ยวกับสตรีทั้งเล่มฉบับแรก คือ กุลสตรี
- นิตยสารที่มียอดจำหน่ายสูงสุดในปัจจุบัน คือ มติชนสุดสัปดาห์
- นิตยสารสตรีที่มียอดจำหน่ายสูงสุดในปัจจุบัน คือ ขวัญเรือน
- นิตยสารสำหรับทุกเพศทุกวัยที่มีราคาย่อมเยาและวางจำหน่ายมานานที่สุด คือ คู่สร้างคู่สม
ภาพยนตร์
- ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรก คือ นางสาวสุวรรณ ในปี พ.ศ. 2466
- ภาพยนตร์ไทยที่เผยแพร่สู่ระดับสากลเรื่องแรก คือ พระเจ้าช้างเผือก ในปี พ.ศ. 2484
- ภาพยนตร์ไทยที่ใช้ทุนสร้างสูงสุด คือ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในปี พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2552 ใช้ทุนสร้าง 700 ล้านบาท
- ภาพยนตร์ไทยที่มีจำนวนภาคต่อสูงสุด คือ บ้านผีปอบ มีทั้งหมด 13 ภาค ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2551
- นักแสดงภาพยนตร์มากที่สุด และที่สุดในโลก คือ สมบัติ เมทะนี จำนวน 617 เรื่อง
วิทยุโทรทัศน์
- ช่อง 7 ออกโทรทัศน์ระบบสีแห่งแรกบนเอเชียแผ่นดินใหญ่
- ธรรมรัตน์ นาคสุริยะ หนึ่งในพิธีกรทีวีคนแรกของไทย เป็นพ่อแท้ๆ ของเหมี่ยว-ปวันรัตน์ นาคสุริยะ นักแสดง
- ไอบีซี เคเบิลทีวีช่องแรกของไทย ร่วมก่อตั้งโดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
- ระเบิดเถิดเทิง เป็นซิทคอมที่มีจำนวนตอนมากที่สุดของไทย
- ไทยพีบีเอส สถานีโทรทัศน์สาธารณะแห่งแรกของไทย
- สถานีโทรทัศน์แห่งแรก และแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม เริ่มออกอากาศเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายนพ.ศ. 2498 (ปัจจุบันคือ สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์)
- สถานีโทรทัศน์สีแห่งแรก คือ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มทดลองออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายนพ.ศ. 2510
- สถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ และสถานีโทรทัศน์เสรีแห่งแรก คือ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เริ่มออกอากาศเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมพ.ศ. 2539
- สถานีโทรทัศน์สาธารณะแห่งแรก คือ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เริ่มทดลองออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 มกราคมพ.ศ. 2551
- สถานีโทรทัศน์เคเบิลแห่งแรกของประเทศไทย คือ ไอบีซี ปัจจุบันคือ ทรูวิชั่นส์
- บุคคลแรกที่ออกโทรทัศน์ คือ นางอารีย์ นักดนตรี ผู้รำบรเทศเปิดสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4
- ผู้ประกาศข่าวทางโทรทัศน์คนแรก คือ นายสรรพสิริ วิรยศิริ หัวหน้าฝ่ายข่าว บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด
- พิธีกรทางโทรทัศน์คู่แรก คือ นายดำรง พุฒตาล และนายธรรมรัตน์ นาคสุริยะ ทางไทยทีวีช่อง 4
- ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์คนแรกที่ถูกทำร้ายร่างกายหลังรายการออกอากาศ คือ นายวิศาล ดิลกวณิช ผู้ดำเนินรายการช่วง เกาะประเด็นร้อน แกะประเด็นลึก ในช่วงข่าวเที่ยงวันทันเหตุการณ์ ทางไทยทีวีสีช่อง 3 โดยถูกนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น ซึ่งเป็นแขกรับเชิญ ชกเข้าหลายครั้งจนได้รับบาดเจ็บ
- รายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศยาวนานที่สุด โดยเคยย้ายสถานีฯ (ช่อง 4, ช่อง 9, ช่อง 11, อีทีวี และเนชั่นแชนแนล) เปลี่ยนเวลา และเพิ่มหรือลดระยะเวลา คือ เชลล์ควิซ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 รวมเวลา 45 ปี
- รายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศยาวนานที่สุด โดยไม่ย้ายสถานีฯ หรือเปลี่ยนเวลา คือ เจาะใจ ทางช่อง 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 รวมเวลา 20 ปี
- รายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ที่ออกอากาศยาวนานที่สุด โดยเปลี่ยนชื่อรายการ 6 ครั้ง และย้ายสถานีฯ (ช่อง 7, ช่อง 3, ช่อง 5 และ กลับสู่ช่อง 7) คือ ชิงร้อยชิงล้าน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 รวมเวลา 21 ปี
- รายการโทรทัศน์ประเภทดนตรีที่ออกอากาศยาวนานที่สุด คือ 7 สีคอนเสิร์ต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 รวมเวลา 24 ปี
- ละครโทรทัศน์ประเภทซิทคอมที่ออกอากาศยาวนานที่สุด โดยไม่ย้ายสถานีฯ แต่เปลี่ยนชื่อรายการ เปลี่ยนเวลา และเพิ่มหรือลดระยะเวลา คือ ระเบิดเถิดเทิง ทางช่อง 5 ตั้งแต่ 7 เมษายนพ.ศ. 2539 รวมเวลา 15 ปี
- การ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องแรกที่ฉายในประเทศไทย คือ หน้ากากเสือ ทางช่อง 4 เมื่อปี พ.ศ. 2516
รักเมืองไทย อย่าทำลายประเทศไทยนะครับ...
เครดิต วิกิพีเดีย
........................................................................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น