ในวันที่ 11 ก.ย. 2001 กลุ่มอัล เคด้า ได้ทำการก่อการร้ายโดยมุ่งเป้าหมายเพื่อทำลายสหรัฐฯ ซึ่งมันก็ได้ผล แต่เป็นผลที่ต่างจากที่โอซามา บิน ลาเดน จินตนาการไว้ การโต้ตอบกลับของจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ประธานาธิบดีในสมัยนั้นเพื่อรอมชอมกับหลักการของสหรัฐฯ ก็ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ และความมั่นคงที่อ่อนแอลง
การตอบโต้เหตุการณ์ 9/11 ด้วยการโจมตีอัฟกานิสถานนั้นเป็นเรื่องเข้าใจได้ แต่การบุกอิรักหลังจากนั้นไม่ได้มีอะไรเกี่ยวกับอัล เคด้า เลย เท่าที่ฟังบุชพยายามจะโยงถึง แล้วสงครามพวกนี้ก็มีราคาแพงมาก ราคาเริ่มต้นเกินกว่า 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากการบิดเบือนโป้ปดมาเจอกับความเสื่อมสมรรถภาพอย่างมโหฬาร
เมื่อผมกับลินดา ไบล์ม คำนวนค่าใช้จ่ายทางการสงครามของสหรัฐฯ เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ก็เห็นว่ามีงบบำรุงราว 3-5 แสนล้าน ดอลลาร์ เลยทีเดียว ตั้งแต่นั้นมาค่าใช้จ่ายก็ยิ่งบานปลายขึ้นไปอีก เนื่องจากทหารที่กลับมาจากสงครามร้อยละ 50 ต่างต้องได้รับเงินชดเชยอาการทุพพลภาพ และมีมากกว่า 600,000 ราย ยังต้องรักษาตัวอยู่ในสถานพยาบาลทหารผ่านศึก พวกเราก็ประเมินไว้ว่าค่าใช้จ่ายชดเชยผู้มีอาการทุพพลภาพ และค่ารักษาพยาบาลจะพุ่งถึง 600,000 ถึง 900,000 ล้านดอลลาร์ แต่ราคาที่ต้องจ่ายในทางสังคมอย่างเช่นการฆ่าตัวตายของทหารผ่านศึก (เมื่อไม่กี่ปีมานี้เคยมีสถิติมากถึง 18 รายในวันเดียว) และครอบครัวแตกแยกนั้น ประเมินค่าไม่ได้
แม้ว่าบุชอาจได้รับการให้อภัยกับการทำให้สหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ทั่วโลกต้องทำสงครามอันเสแสร้งและบิดเบือนราคาที่ต้องจ่าย แต่ก็ไม่มีข้อแก้ตัวให้กับวิถีทางการเงินของเขา นี่เป็นสงครามครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่จ่ายโดยใช้เครดิต ขณะที่สหรัฐฯ ทำสงครามอยู่นั้น ประเทศก็กำลังประสบภาวะขาดดุลอยู่แล้วจากการลดภาษีในปี 2001 บุชตัดสินใจลดภาษีลงอีกยกหนึ่งเพื่อ "บรรเทาทุกข์" คนรวย
ในตอนนี้สหรัฐฯ หันมาสนใจเรื่องปัญหาการว่างงานและงบประมาณขาดดุล ทั้งสองอย่างนี้เป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวงต่ออนาคตของสหรัฐฯ ซึ่งมีต้นเหตุมาจากการทำสงครามในอัฟกานิสถานและอิรัก การเพิ่มงบประมาณด้านกลาโหมพร้อมกับการตัดภาษี เป็นเหตุผลหลักว่าทำไมค่า GDP ของสหรัฐฯ จึงตกลงจากเดิมที่มีส่วนเกินร้อยละ 2 ต่อปี เมื่อบุชถูกเลือกให้มาเป็นผู้ก่อการขาดดุลและก่อหนี้มาจนถึงทุกวันนี้ ค่าใช้จ่ายโดยตรงของรัฐบาลที่ใช้ไปกับสงครามประเมินค่าได้เท่ากับ 2 แสนล้านดอลลาร์ หรือ ราว 17,000 ดอลลาร์ ต่อครัวเรือน ถ้ารวมบิลล์ที่ยังไม่มาด้วย ก็ต้องบวกไปอีกราวมากกว่าร้อยละ 50
นอกจากนี้แล้วยังมีสิ่งที่ผมกับไบล์มถกเถียงกันไว้ในหนังสือ The Three Trillion Dollar War ว่าสงครามทำให้เศรษฐกิจมหภาคของสหรัฐฯ ก่อนแอลง ยิ่งซ้ำเติมให้การขาดดุลและภาวะหนี้สินแย่ลงไปอีก และในตอนนี้ความวุ่นวายในตะวันออกกลางก็ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น ผลักให้ชาวอเมริกันต้องใช้จ่ายไปกับน้ำมันนำเข้าแทนที่จะใช้เงินในส่วนนั้นมาซื้อสินค้าที่ผลิตในสหรัฐฯ เอง
กระนั้นธนาคารกลางของสหรัฐฯ ก็ซ่อนจุดอ่อนนี้โดยการทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ด้านอสังหาริมทรัพย์ ทำให้เกิดการบริโภคเพิ่มมากขึ้น แต่ก้ต้องใช้เวลาหลายปีในการแก้ปัญหาภาวะหนี้สินท่วม และอสังหาริมทรัพย์ที่ล้นเกิน
สิ่งที่ต่างจากความคาดหมายของคนทั่วไปคือ สงครามยิ่งทำให้ความมั่นคงของสหรัฐฯ (และของโลก) ย่ำแย่ลง ในทางที่บิน ลาเดน ก็ไม่ได้จินตนาการถึงมาก่อน สงครามที่คนไม่ชอบยิ่งทำให้การเกณฑ์ทหารยากขึ้นในทุกด้าน แต่การที่บุชพยายามหลอกสหรัฐฯ ในเรื่องค่าใช้จ่ายทางสงคราม เขาได้ให้งบประมาณกองทัพน้อยกว่าความจำเป็น ไม่ออกแม้กระทั่งค่าใช้จ่ายพื้นฐาน เช่น รถหุ้มเกราะและพาหนะต้านกับดักระเบิด ซึ่งควรจะมีไว้ป้องกันชีวิตของชาวอเมริกัน หรือกระทั่งค่าใช้จ่ายด้านพยาบาลที่เหมาะสมสำหรับทหารผ่านศึก ศาลสหรัฐฯ ประกาศเมื่อไม่นานมานี้ว่าสิทธิของทหารผ่านศึกถูกละเมิด (ที่น่าสนใจคือ รัฐบาลโอบาม่าอ้างว่าควรจะมีการจำกัดสิทธิในการฟ้องร้องต่อศาลของทหารผ่านศึก!)
การกระทำเกินความสามารถของกองทัพทำให้เกิดความกังวลว่าจะนำไปสู่การใช้กำลังทหาร และการที่มีคนรู้ในเรื่องนี้ก็ยิ่งข่มให้ความมั่นคง ของสหรัฐฯ อ่อนแอลงไปด้วย แต่ความแข็งแกร่งที่แท้จริงของสหรัฐฯ นั้นมีมากกว่าด้านการทหารและด้านเศรษฐกิจ พวกเขายังมี "พลังอ่อน" คือพลังอำนาจเชิงจริยธรรม แต่อำนาจอ่อนนี้เองก็ดูจะเบาแรงลงไปด้วย เนื่องจากสหรัฐฯ ได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเช่นการถูกปล่อยตัวจากการกักขังอย่างผิดกฏหมาย (habeas corpus) และสิทธิในการไม่ถูกทรมาน พันธะผูกพันธ์ต่อกฏหมายนานาชาติที่มีมายาวนานของสหรัฐฯ ได้ถูกตั้งคำถาม
ทั้งสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตรรู้ดีว่า สำหรับกรณีในอัฟกานิสถานกับอิรักแล้ว ชัยชนะที่อยู่ยั่งยืนยาวนานกว่าคือการชนะใจ แต่ความผิดพลาดตั้งแต่ช่วงปีแรกๆ ของสงครามยิ่งทำให้การต่อสู้ที่ยากลำบากนี้ซับซ้อนขึ้นไปอีก ผลกระทบจากสงครามนั้นกว้างใหญ่มาก มีชาวอิรักจำนวนมากกว่าหนึ่งล้านคนเสียชีวิตจากสงคราม ทั้งทางตรงและทางอ้อม จากงานวิจัยบางชิ้นระบุว่ามีประชาชนอย่างน้อย 137,000 ราย ถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยมในอัฟกานิสถานและอิรักเมื่อสิบปีที่ผ่านมา และในอิรักเองก็มีประชาชน 1 ล้าน 8 แสน คนต้องกลายเป็นผู้อพยพ อีก 1 ล้าน 7 แสนคน ต้องย้ายถื่นฐานภายในประเทศ
ไม่ใช่ว่าผลลัพธ์จะเป็นเรื่องเสียหายไปทั้งหมด การขาดดุลงบประมาณที่สหรัฐฯ ทุ่มลงไปใช้ในสงครามจนเกิดหนี้ ส่งผลอย่างใหญ่หลวงมากเสียจนตอนนี้สหรัฐฯ ต้องอยู่กับโลกความจริงด้วยการลดการใช้จ่ายงบประมาณลง การใช้จ่ายทางการทหารของสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับทั้งโลกรวมกัน 2 ทศวรรษหลังสงครามเย็น รายจ่ายที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งนำไปใช้ในสงครามราคาแพงกับอิรักและอัฟกานิสถาน รวมถึงในวงกว้างระดับโลกคือนโยบาย "สงครามต่อต้านการก่อการร้าย" แต่มีจำนวนมากที่เสียไปกับอาวุธที่ไม่ได้นำไปใช้กับศัตรูที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง ในที่สุดตอนนี้ทรัพยากรเหล่านั้นกำลังถูกนำกลับมาจัดการใหม่แล้ว และสหรัฐฯ ก็จะมีความมั่นคงมากขึ้นโดยที่จ่ายน้อยลง
อัล เคด้า ที่แม้จะไม่ชนะ ไม่แสดงตนเป็นภัยน่าสะพรึงกลัวเช่นเดียวกับที่เคยเป็นเมื่อช่วงหลังการจู่โจม 9-11 อีก แต่ราคาที่ทั้งสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ต้องจ่ายเพื่อจะมาถึงตรงนี้ได้ ก็ถือว่าเสียไปมาก ทั้งส่วนใหญ่ก็หลีกเลี่ยงไม่ต้องเสียได้ มรดกตกทอดนี้จะอยู่กับเราไปอีกนาน มันสอนให้เรารู้จักคิดก่อนทำ
ข้อมูลผู้เขียนบทความ
โจเซฟ อี. สติกลิตซ์ เป็นศาตราจารย์ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปี 2001 เคยเป็นหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลก ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ช่วงปี 1995-1997 สมัยรัฐบาลบิลล์ คลินตัน
ขอบคุณที่มา : ประชาไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น