พ่อธีร์" แชร์เทคนิคสอนลูก "เก่งเลข" ง่ายนิดเดียว
ปฏิเสธไม่ได้ว่า
เด็กไทยส่วนใหญ่กับวิชาคณิตศาสตร์
ยังคงเป็นทางคู่ขนานที่หาทางบรรจบกันได้ยาก
สาเหตุหนึ่งเกิดจากทัศนคติที่ว่า คณิตศาสตร์เป็นเรื่องซับซ้อน เข้าใจยาก
น่าเบื่อ และไม่สนุก แต่หากพ่อแม่ได้อ่านสิ่งที่ทีมงาน Life and Family
นำเสนอต่อไป เชื่อว่าเด็กกับตัวเลขจะค่อย ๆ เขยิบเข้าหากันไม่มากก็น้อย
บอก
เล่าได้จาก พ่อธีร์ ปัณณธีร์ ผู้เขียนหนังสือ "คณิตศาสตร์เรื่องง่าย
สอนได้ก่อนอนุบาล" เรื่องดังจากเว็บบอร์ดรักลูกที่มีพ่อแม่เข้าไปอ่านเกือบ
200,000 ครั้ง จนนำมาทดลองสอนลูกวัยก่อน 2 ขวบ พบว่า
ลูกเก่งเลขจริงอย่างน่าอัศจรรย์
โดยพ่อธีร์ เผยหลักการว่า
การสอนให้เด็กเข้าใจ และสนุกกับตัวเลข โดยเฉพาะเด็กก่อนวัยเรียน
ถือเป็นหน้าที่สำคัญของพ่อแม่ที่ต้องสอนลูกให้เห็นมากกว่าคิด
เพราะการจะทำให้เด็กชอบเลข จินตนาการต้องมาก่อนการเรียนรู้
ซึ่งการสอนในเด็กเล็ก พ่อธีร์แนะว่า
ควรเริ่มจากให้เด็กรู้จักสัญลักษณ์ของตัวเลข สอนให้นับ 1-10
สอนให้รู้จักจำนวน สอนเขียนตัวเลขโดยไม่จับดินสอ
แต่ใช้นิ้วชี้ลากไปตามตัวเลข แล้วค่อย ๆ
เพิ่มความซับซ้อนของเนื้อหาตามความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก
"การ
เรียนคณิตศาสตร์ของเด็ก ต้องมีมิติให้เด็กได้ใช้จินตนาการ
การที่เด็กคนหนึ่งจะเก่งคณิตศาสตร์ไม่ใช่เด็กที่ตอบได้ว่า 3+4 เท่ากับ 7
แต่เด็กที่เก่งได้ต้องเห็นธรรมชาติ ถ้าจินตนาการไม่มา
การเรียนรู้ก็เกิดได้ยาก" พ่อธีร์กล่าว
พื้นฐานกิจกรรม 4 อย่าง ฝึกลูกสนุกเลข
ดังนั้นจึงสอดรับกับ 4
กิจกรรมพื้นฐานที่พ่อธีร์ออกแบบไว้สำหรับพ่อแม่เพื่อนำไปใช้กับลูกที่บ้าน
ง่าย ๆ โดยมีรายละเอียดของกิจกรรมดังต่อไปนี้
1. ทายลูกปัด
เป็น
กิจกรรมที่สอนให้ลูกรู้จักจำนวน การเพิ่มการลด วิธีเล่น หยิบลูกปัด
หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เช่น กระดุมเม็ดใหญ่ ก้อนกรวดทาสี บล็อกไม้
ออกมาจำนวนไม่เกิน 5 เม็ด กี่ลูกก็ได้ แล้วให้ลูกทายแบบลุ้นสุด ๆ เช่น
นี่กี่เม็ดลูก ถ้าลูกตอบถูกให้เก็บแล้วหยิบออกมาใหม่ แต่ถ้าลูกตอบผิด
เพียงแค่บอกจำนวนที่ถูกต้องไป แล้วหยิบขึ้นมาใหม่ โดยไม่ต้องสอนให้ลูกนับ
โดยวัตถุประสงค์ของการทายลูกปัดเพื่อให้เด็กรู้จักจำนวน
และฝึกให้เด็กกวาดสายตามองแล้วตอบได้อย่างรวดเร็ว
"ทำไมถึงสอนแบบนี้
ก็เพราะว่ามันเป็นธรรมชาติ การที่เด็กได้เห็นธรรมชาติ เขาไม่ต้องนับ เช่น
ลูกสาวผมเวลาเห็นดอกชบา จะบอกได้เลยว่า ดอกชบาส่วนใหญ่มี 5 กลีบ
นั่นเพราะเขาเห็นธรรมชาติ มันอยู่ในจินตนาการของเขา
ซึ่งต่างกับเด็กที่เจออะไรก็นับ มันทำให้การเรียนรู้ช้า
ดังนั้นพ่อแม่ต้องสอนลูกก่อนวัยเรียนให้เห็น มากกว่าคิด
เพราะการคิดเดี๋ยวโรงเรียนเขาสอนให้เอง" คุณพ่อธีร์บอก
2. นับเลขปากเปล่า
เป็นกิจกรรมนับเลขเร็ว
หรือจับเวลาให้ลูกนับไม่เกิน 1 นาที เช่น 1-10
เป็นการฝึกความไวของสมองในการนับเลข
ถ้าเด็กยังพูดไม่ได้ให้พ่อแม่นับให้ฟังเล่น ๆ ไปก่อน
สำหรับเด็กที่พูดได้แล้ว พ่อแม่ควรเล่นกับลูกบ่อย ๆ เช่น นับเดินหน้า
นับถอยหลัง หากลูกนับ 1-10 หรือ 10-1 ได้ดีแล้ว ให้ต่อยอดไปเรื่อย ๆ
แต่อย่าลืมหัวเราะกับลูกด้วย
2. นับเลขปากเปล่า
เป็นกิจกรรมนับเลขเร็ว
หรือจับเวลาให้ลูกนับไม่เกิน 1 นาที เช่น 1-10
เป็นการฝึกความไวของสมองในการนับเลข
ถ้าเด็กยังพูดไม่ได้ให้พ่อแม่นับให้ฟังเล่น ๆ ไปก่อน
สำหรับเด็กที่พูดได้แล้ว พ่อแม่ควรเล่นกับลูกบ่อย ๆ เช่น นับเดินหน้า
นับถอยหลัง หากลูกนับ 1-10 หรือ 10-1 ได้ดีแล้ว ให้ต่อยอดไปเรื่อย ๆ
แต่อย่าลืมหัวเราะกับลูกด้วย
3. วางเบี้ย
เป็นกิจกรรมฝึกให้เด็กรู้จักใช้สายตา การมอง และการสัมผัส เพื่อให้เด็กเรียนรู้ตำแหน่งของตัวเลขได้อย่างแม่นยำ
วิธีเล่น
- เด็กเล็ก เริ่มจากเบี้ยแค่ 5 ตัว คือ เลข 1-5 ก่อน
- หยิบเบี้ยเลขใดขึ้นมาก็ได้ แล้ววางในช่วงดังกล่าวบนกระดาน ทำจนครบ 5 ตัว
- วันแรก ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจทำให้ลูกดูก่อน ถ้าลูกยังไม่สนใจให้เล่นกันเอง 2 คน ทำท่าทางสนุก ๆ ลูกจะรู้สึกอยากมาเล่นเองภายหลัง
- จำนวนเบี้ย ใช้จำนวนเท่าที่เด็กสามารถวางได้ภายใน 3 นาทีเป็นหลัก
เช่น เด็กสามารถวางเบี้ยเลข 1-20 ได้ภายใน 3 นาที ก็เอาเท่านี้ก่อน
เมื่อเด็กทำได้ดีขึ้นเหลือไม่เกิน 2 นาที จึงค่อยเพิ่มจำนวนเบี้ย
- เพิ่มจำนวนเบี้ยเป็น 10 20 30 ขึ้นไปตามลำดับจนถึง 100 ตัวในที่สุด
- จดบันทึกเวลา จำนวนเบี้ยที่วาง พัฒนาการ และกุศโลบายล่อหลอกที่ได้ผล
หมายเหตุ กระดานวางเบี้ย 100 ช่อง ยังไม่มีขายตามท้องตลอด
จะดัดแปลงจากกระดานโกะก็ได้ พ่อแม่ลูกสามารถช่วยกันทำเองได้ในราคาประหยัด
4. การลากนิ้วตามตัวเลข : ให้คุณแม่คุณพ่อ พิมพ์หรือว่าเขียนตัวเลข 1-10
ตัวโต ๆ แล้วก็จับนิ้วลูก ลากตามตัวเลขนั้น ๆ เหมือนเวลาเราเขียน
แล้วก็พอลากเสร็จก็ บอกลูกว่า นี่คือเลข หนึ่ง
วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
30 วิธีแสนง่ายในการเลี้ยงลูกให้ฉลาด
30 วิธีแสนง่ายในการเลี้ยงลูกให้ฉลาด
30 วิธีง่ายๆ ต่อไปนี้อาจช่วยขยายไอเดียของคุณ ๆ ได้ หากลูกคุณยังไม่ได้ดั่งใจ แต่อย่างใดก็ตามเด็กก็คือเด็ก เป็นผ้าขาวของสังคม เราต้องเข้าใจธรรมชาติของเขา ก่อนที่จะไปเปลี่ยนแปลงให้เขาเป็นในสิ่งที่เราอยากให้เป็น วิธีต่างๆ เหล่านี้ผ่านการวิเคราะห์ ทดสอบ ทดลอง และสรุปผลมาแล้วจากนักวิชาการว่าใช้ได้ผลดีมาแล้วทั่วโลก
1.ตามองตา
เมื่อลูกลืมตาตื่นขึ้น ให้เรามองหน้าสบสายตาหนูน้อยสักครู่
หนูน้อยแรกเกิดจดจำใบหน้าของคนได้เป็นสิ่งแรกเสมอ
และใบหน้าของพ่อแม่คือใบหน้าแรกที่ลูกอยากจะจดจำ
ซึ่งแต่ละครั้งที่หนูน้อยจ้องมองใบหน้าของเรา
สมองก็จะบันทึกความทรงจำไว้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย 2.พูดต่อสิลูก
เวลาพูดกับลูก เว้นช่องว่างในช่วงคำง่าย ๆ ที่ลูกจะสามารถพูดต่อได้ เช่น
พยางค์สุดท้ายของคำ หรือคำสุดท้ายของประโยค ในช่วงแรก ๆ
ลูกอาจจะเงียบและทำหน้างง แต่ในที่สุดถ้าทำอย่างนี้บ่อย ๆ ในประโยคซ้ำ ๆ
ลูกจะค่อย ๆ จับจังหวะ จับคำพูดบางคำได้
และเริ่มพูดต่อในช่วงว่างที่พ่อแม่หยุดไว้ให้ 3.ฉลาดเพราะนมแม่
ให้นมแม่นานที่
สุดเท่าที่จะทำได้ ผลการศึกษาในเด็กวัยเรียนพบว่า
เด็กที่กินนมแม่ตอนที่เป็นทารกมักจะมีไอคิวสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่
นอกจากนี้การให้นมลูกยังเป็นช่วงเวลาสำคัญในการสร้างสายสัมพันธ์กับลูกน้อย 4. ทำตลกใส่ลูก
แม้กระทั่งเด็กน้อยอายุเพียงแค่ 2 วัน
ก็มีความสามารถเลียนแบบการแสดงออกทางสีหน้าอย่างง่าย ๆ ของพ่อแม่ได้
ไม่เชื่อลองแลบลิ้นหรือทำหน้าตาตลก ๆ ใส่ ลูกคุณจะทำตามแน่ ๆ 5.กระจกเงาวิเศษ
ทารกน้อยเกือบทุกคนชอบส่องกระจก เขาจะสนุกที่ได้เห็นเงาของตัวเองในกระจกโบกมือหรือยิ้มแย้มหัวเราะตอบออกมาทุกครั้ง 6.จั๊กจี้ จั๊กจี้
การหัวเราะเป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการด้านอารมณ์ขัน
การเล่นปูไต่ทำให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการคาดเดาเหตุการณ์ด้วยว่า
ถ้าพ่อแม่เล่นอย่างนี้แสดงว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
ปูจะไต่จากไหนไปถึงไหนเป็นต้น 7.สองภาพที่แตกต่าง
ถือรูปภาพ 2 รูป ที่คล้ายกันให้ลูกมอง
โดยวางให้ห่างจากใบหน้าของลูกประมาณ 8-12 นิ้ว เช่น
ภาพรูปบ้านที่เหมือนกันทั้งสองรูป
แต่อีกรูปหนึ่งมีต้นไม้ต้นใหญ่อยู่ข้างบ้าน
แม้ยังเป็นเด็กทารกแต่เขาสามารถสังเกตเห็นความแตกต่างนี้ได้
เป็นการสร้างความจำที่จะเป็นพื้นฐานในการจดจำตัวอักษรและการอ่านสำหรับลูก
ต่อไป 8.ชมวิวด้วยกัน
พาลูกออกไปเดิน
เล่นนอกบ้าน และบรรยายสิ่งที่เห็นให้ลูกฟัง เช่น
โอ้โหต้นไม้ต้นนี้มีนกเกาะอยู่เต็มเลย ดูสิลูกบนนั้นมีนกด้วย
การบรรยายสิ่งแวดล้อมให้ลูกฟังสร้างโอกาสการเรียนรู้คำศัพท์ให้กับลูก 9.เสียงประหลาด
ทำเสียงเป็นสัตว์ประหลาด คุ๊กคู ๆ หรือทำเสียงสูง ๆ
เลียนแบบเสียงเวลาที่เด็ก ๆ พูด
ทารกน้อยจะพยายามปรับการรับฟังเสียงให้เข้ากับเสียงต่าง ๆ จากพ่อแม่ 10.ร้องเพลงแสนหรรษา
สร้างเสียงและจังหวะส่วนตัวระหว่างเราและลูกน้อยขึ้นมา เช่น
เวลาเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก ก็ร้องเพลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก
อาจจะเป็นกลอนสั้น ๆ แล้วใส่เสียงสูงต่ำแบบการร้องเพลงเข้าไป
หรืออีกทางคือเปิดเพลงชนิดต่าง ๆ ให้ลูกฟังบ้าง เช่น
บางวันอาจจะเป็นลูกทุ่ง บางวันเป็นเพลงบรรเลง หรือเพลงป๊อปยอดฮิตทั่วไป
มีนักวิจัยค้นพบว่า จังหวะดนตรีเกี่ยวพันกับการเรียนรู้คณิศาสตร์ของลูก11.มีค่ามากกว่าแค่อาบน้ำ
เวลาในการอาบน้ำสอวนให้ลูกรู้จักส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการอาบน้ำ
การบรรยายให้ลูกฟังไปด้วยว่ากำลังทำอะไรและจะทำอะไรต่อไปเท่ากับเป็นการสอน
คำศัพท์ และช่วยให้ลูกเรียนรู้เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันไปในตัว 12.อุทิศตัวเป็นของเล่น
ไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องเล่นราคาแพงไว้ให้ลูกบริหารร่างกาย
เพียงแค่คุณพ่อหรือคุณแม่นอนราบลงไปบนพื้น
และปล่อยให้หนูพยายามคลานข้ามตัวไป
แค่นี้ร่างกายของคุณพ่อคุณแม่ก็จะกลายเป็นสนามเด็กเล่นที่ราคาถูกที่สุด
และสนุกที่สุดสำหรับหนูน้อยได้พัฒนากล้ามเนื้อให้ทำงานสัมพันธ์
และเรียนรู้เรื่องการแก้ปัญหาไปพร้อมกัน 13.พาลูกไปช็อปปิ้ง
นาน ๆ ครั้งพาลูกน้อยไปซื้อของที่ซุปเปอร์มาเก็ตด้วยก็ไม่เสียหาย
ใบหน้าผู้คนอันหลากหลาย รวมถึงแสง สี เสียง ในห้างสรรพสินค้า คือ
สิ่งบันเทิงใจสำหรับหนูน้อยเชียวล่ะ 14.ให้ลูกมีส่วนร่วม
พยายามให้ลูกได้มีส่วนร่วมในกิจวัตรต่าง ๆ เช่น
ถ้ากำลังจะปิดไฟก็อาจจะบอกลูกว่า แม่กำลังจะปิดแล้วนะ
เสร็จแล้วจึงกดปิดสวิชต์ไฟ
นี่จะเป็นการสอนให้ลูกเรียนรู้เกี่ยวกับเหตุและผล
ลูกน้อยจะเรียนรู้ว่าเมื่อคุณแม่กดสวิชต์ หลอดไฟจะปิดเป็นต้น 15.เสียงและสัมผัสจากลมหายใจ
ช่วยให้ลูกน้อยกระปรี้กระเปร่าขึ้นด้วยการเป่าลมเบา ๆ ไปตาม ใบหน้า มือ
แขน หรือท้องของลูก หาจังหวะในการเป่าของตัวเอง เช่น เป่าเร็ว ๆ สลับกับช้า
หรือเป่าแล้วตามด้วยเสียงต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการของคุณพ่อคุณแม่
แล้วรอดูปฏิกริยาตอบสนองจากลูก 16.ทิชชู่หรรษา
ถ้าลูกชอบดึงกระดาษทิชชู่ออกจากม้วน ปล่อยเขาค่ะ อย่าห้าม
แต่อาจใช้กระดาษทิชชู่ม้วนที่เราใช้ไปพอสมควรแล้ว
จนเหลือกระดาษอยู่เพียงเล็กน้อย
เพราะการที่เด็กน้อยได้ขยำหรือขยี้กระดาษให้ยับย่น
หรือพับให้เรียบนั้นเป็นการฝึกประสาทสัมผัสและการใช้มือของลูกเป็นอย่างดี 17.อ่านหนังสือให้ลูกฟัง
การอ่านหนังสือ
ช่วยให้ลูกเรียนรู้เรื่องภาษาได้จริง ๆ มีผลการวิจัยออกมาว่า
แม้กระทั่งเด็กอายุ 8 เดือน
สามารถเรียนรู้จดจำการเรียงลำดับคำในประโยคที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟังซ้ำ 2-3
ครั้งได้ ดังนั้น ควรจัดเวลาในแต่ละวันอ่านหนังสือให้ลูกฟังเป็นประจำ 18.เล่นซ่อนหาจ๊ะเอ๋
การเล่นจ๊ะเอ๋นี้นอกจากจะทำให้ลูกหัวเราะแล้ว ยังช่วยให้ลูกเรียนรู้ว่าเมื่อสิ่งของหายไปแล้วสามารถกลับคืนมาได้อีก 19.สัมผัสที่แตกต่าง
หาสิ่งของที่มีผิวสัมผัสแตกต่างกัน เช่น ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ไม้
หรือผ้าฝ้าย ค่อย ๆ นำพื้นผิวแต่ละอย่างไปสัมผัสแก้ม เท้า หรือท้องลูกเบา ๆ
ระหว่างนี้คุณพ่อคุณแม่ก็บรรยายให้ลูกฟังไปด้วยว่าความรู้สึกเมื่อถูกสัมผัส
เป็นอย่างไร เช่น นี่จั๊กจี้นะลูก ส่วนอันนี้นุ๊ม นุ่ม ใช่ไหม เป็นต้น 20.ให้ลูกผ่อนคลายและอยู่กับตัวเองบ้าง
ให้เวลาประมาณ
5-10 นาที ในแต่ละวัน นั่งเงียบ ๆ สบาย ๆ กับลูกน้อยบนพื้นบ้าน
ไม่ต้องเปิดเพลง เปิดไฟ หรือเล่นอะไรกัน ปล่อยให้ลูกได้สำรวจสิ่งต่าง ๆ
ตามใจชอบ
คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องไปยุ่งกับลูกเลยและรอดูว่าใช้เวลาสักเท่าไรหนูน้อยจึงจะ
คลานมาขอเล่นกับคุณพ่อคุณแม่อีกครั้ง
นี่เป็นการฝึกความเป็นตัวของตัวเองให้ลูกขั้นแรก 21.ทำอัลบั้มรูปครอบครัว
นำรูปภาพของ
ญาติ ๆ มาใส่ไว้ในอัลบั้มเดียวกัน และนำออกมาให้ลูกดูบ่อย ๆ
เพื่อให้จดจำชื่อญาติแต่ละคน แล้วเวลาที่คุณปู่ หรือคุณย่าโทรศัพท์มา
ก็นำรูปท่านออกมาให้ลูกดูพร้อมกับที่ให้ลูกฟังเสียงของท่านจากโทรศัพท์ไป
ด้วย 22.มื้ออาหารแสนสนุก
เมื่อถึงเวลาที่ลูกสามารถกินอาหารเสริมที่หลากหลายมากขึ้นได้แล้ว
อย่าลืมจัดอาหารของลูกให้มีชนิด ขนาดและพื้นผิวที่หลากหลาย เช่น
มีทั้งผลไม้ชิ้นเล็ก เส้นพาสต้า มักกะโรนี หรือซีเรียล
ปล่อยให้ลูกน้อยใช้มือจับอาหารถ้าลูกอยากทำ เป็นการฝึกใช้นิ้ว
และฝึกใช้ประสาทสัมผัสเมื่อได้สัมผัสกับอาหารที่มีลักษณะแตกต่างกัน 23.เด็กชอบทิ้งของ
บางครั้งดูเหมือนเด็กชอบทิ้งของลงพื้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า พฤติกรรมนี้เกิดจากเด็กทดสอบเรื่องแรงโน้มถ่วงว่าจะตกลงสู่พื้นทุกครั้งหรือไม่ 24.กล่องมายากล
หากล่องหรือ
ตลับที่เหมือนกันมาสักสามอัน
แล้วซ่อนของเล่นชิ้นโปรดของลูกไว้ในกล่องใบหนึ่ง สลับกล่องจนลูกจำไม่ได้
แล้วให้ลูกค้นหาของเล่นชิ้นนั้นจนเจอ นี่เป็นเกมฝึกสมองอย่างง่ายสำหรับเด็ก25.สร้างอุปสรรคเล็ก ๆ น้อย ๆ
กระตุ้นทักษะ
การทำงานของกล้ามเนื้อให้ลูก โดยนำเบาะ โซฟา หมอน กล่อง
หรือของเล่นวางขวางไว้บนพื้น แล้วพ่อแม่ก็แสดงวิธีคลานข้าม ลอด หรือคลานรอบ
ๆ สิ่งกีดขวางเหล่านี้ได้อย่างไร26.เลียนแบบลูกบ้าง
เด็กชอบให้พ่อ
แม่ทำอะไรตามเขาในบางครั้ง เช่น เลียนแบบท่าหาวของลูก แกล้งดูดขวดนมของลูก
ทำเสียงเลียนแบบเวลาที่ลูกส่งเสียงอ้อแอ้ หรือคลานในแบบที่ลูกคลาน
การทำอย่างนี้กระตุ้นให้ลูกแสดงกิริยาท่าทางต่าง ๆ ออกมา
เพราะอยากเห็นปฏิกิริยาตอบสนองของพ่อแม่
นี่คือก้าวแรกของลูกสู่การมีความคิดสร้างสรรค์27.จับใบหน้าที่แปลกไป
ลองทำหน้าตาแปลก ๆ เช่น ขมวดคิ้ว แยกเขี้ยว แลบลิ้นให้ลูกดู
เวลาลูกเห็นพ่อแม่ทำหน้าตาตลก หนูน้อยจะอยากลองจับ
ปล่อยให้ลูกได้ลองจับต้องใบหน้าของพ่อแม่ แล้วสร้างเงื่อนไขบางอย่างขึ้นมา
เช่น ถ้าลูกจับจมูกจะทำเสียงแบบนี้ ถ้าจับแก้มจะทำเสียงอีกแบบหนึ่ง
ทำแบบนี้ 3-4 รอบ แล้วจึงเปลี่ยนเงื่อนไขไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ลูกแปลกใจ28.วางแผนคลานตามกัน
ลองคลานเล่นไปกับลูกให้ทั่วบ้าน คลานช้าบ้าง
เร็วบ้างและหยุดหรือพ่อแม่อาจจะวางของเล่นที่น่าสนใจ
หรือจัดบ้านในบางมุมให้แปลกไปก่อนที่จะมาคลานเล่นกับลูกเพื่อไปสำรวจตามจุด
ต่าง ๆ ที่จัดไว้ตามแผน29.เส้นทางแห่งความรู้สึก
อุ้มลูกน้อย
เดินไปทั่วบ้านในวันฝนตก จับมือลูกไปสัมผัสหน้าต่างที่เย็นชื้น
หยดน้ำที่เกาะบนใบไม้ ต้นไม้ หรือสิ่งของอื่น ๆ
ในบ้านที่จับต้องได้อย่างปลอดภัย
เป็นการเปิดประสาทสัมผัสของลูกสู่ความรู้สึกต่าง ๆ
เมื่อได้แตะต้องสิ่งของเย็น เปียก หรือความลื่น30.เล่าเรื่องของลูก
เลือกนิทาน
เรื่องโปรดของลูก แต่แทนที่จะเล่าอย่างที่เคยเล่า
ลองใส่ชื่อของลูกลงไปแทนที่ชื่อตัวละครตัวสำคัญของเรื่อง
เพื่อให้หนูน้อยรู้สึกแปลกใจและสนุกสนานไปกับชื่อของตัวเองในนิทานขอขอบคุณข้อมูลจาก
นิตยสาร at office issue 55 August 2008 p.30-34
โดย เป๊กกี้
ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)